ลูกอ้วนด้วยจากพันธุกรรม
โดยที่ยีนมีส่วนในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก อาจเป็นเหตุที่ทำให้เด็กบางคนน้ำหนักขึ้นง่าย ปัจจุบันมีการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอ้วน โดยยีนเลปทินเป็นยีนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอ้วน ทำหน้าที่ปรับสมดุลพลังงานของร่างกายและควบคุมการสะสมของไขมันในร่างกายและน้ำหนักตัว การกลายพันธุ์ของยีนเลปทินทำให้การเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดน้อยลง และเกิดการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้นจนเป็นโรคอ้วน โรคอ้วนของเด็กนั้นมียังความสัมพันธ์กับน้ำหนักของพ่อแม่เช่นกัน โดยเด็กที่มีพ่อแม่น้ำหนักเกินมักจะมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนสูงกว่า นอกจากนี้ น้ำหนักตัวของคุณแม่ยังมีความสัมพันธ์กับลูกมากกว่าคุณพ่อ เพราะอาหารและน้ำหนักตัวของแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ มีอิทธิพลต่อการควบคุมความอยากอาหารของลูก และน้ำหนักตัวในอนาคตของลูกน้อย การควบคุมอาหารการกินของลูกโดยคุณแม่
ลูกอ้วนด้วยอาหารพลังงานสูง
แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ แคลอรีส่วนเกินจึงถูกสะสมเป็นไขมันในร่างกายจึงเก็บสะสมไว้ในลักษณะไขมัน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เช่น การทานอาหารนอกบ้านที่เน้นความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น อาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ด และของทานเล่นที่มีแคลอรีสูง เช่น การกินอาหารประเภทขนมหวาน พิซซ่า ไก่นักเก็ต น้ำอัดลม ชีสพัฟ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ช็อกโกแลต และพาสตรี้ ด้วยรสชาติยั่วใจเหล่านี้ เด็กๆ จึงมักจะทานอาหารประเภทผัก ผลไม้น้อยลงด้วย
พฤติกรรมเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
มีแต่นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน เพราะในปัจจุบัน เด็กๆ เอาแต่ยุ่งกับการเรียน เด็กจึงมีเวลาน้อยมากสำหรับกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย และการเล่นสนุกสนานกลางแจ้งในโรงเรียน และหลังเลิกเรียน เด็กมักชอบกิจกรรมนั่งๆ นอนๆ อยู่กับที่มากกว่า โดยเฉพาะการดูทีวี และเล่นวิดีโอหรือเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งยิ่งทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพราะกิจกรรมเหล่านี้ เผาผลาญแคลอรีน้อยมาก และยังกระตุ้นให้เด็กกินขนมขบเคี้ยวไปพร้อมๆ กับกิจกรรม นั่งๆ นอนๆ ด้วย นอกจากนั้น อาหารที่โฆษณาในทีวียังชวนให้เด็กกินขนม ที่มีพลังงานสูงแต่มีสารอาหารน้อยมาก เช่น ของกินเล่นที่มีไขมันสูง น้ำอัดลม และอาหารฟาสต์ฟู้ด
ลูกนอนหลับไม่เพียงพอ
การนอนเพียงพอมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคอ้วนในเด็ก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อน และมีแนวโน้มออกกำลังกายน้อยลง และอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารรสหวานและมีแป้งเยอะ ดังนั้น การนอนหลับอย่างเพียงพอในเด็กเล็กนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สาเหตุหลายประการของโรคอ้วนในเด็กเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวลูกน้อยนะคะ เพียงแค่ปรับสิ่งต่างๆ ที่ละเล็กที ละน้อย วันละนิดวันละหน่อย อาจค่อยๆ ช่วยลดน้ำหนักที่เกินลงไป และพัฒนาพฤติกรรมให้ลูกรักกลับมามีน้ำหนักที่สมดุล และสุขภาพดีขึ้นได้นะคะ