นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

อาหารหลัก 5 หมู่สำหรับลูกวัยหัดเดิน

พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน เมื่อลูกเปลี่ยนจากวัยคลานมาเป็นวัยหัดเดิน ถือเป็นช่วงเวลาที่เขากำลังมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากสมองของลูกพร้อมรับความท้าทายในการเดินและพูดที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น 

ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกเติบโตอย่างมีสุขภาพดีเยี่ยมและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ที่สุด อาหารหลัก 5 หมู่จึงเป็นสิ่งจำเป็น 

อาหารของลูกวัยหัดเดินต่างจากของผู้ใหญ่

อาหารครบทั้ง 5 หมู่สำหรับเด็กจะต่างจากของผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ความต้องการสารอาหารของเขาก็ต่างจากของผู้ใหญ่เช่นกัน คุณแม่จึงควรใส่ใจกับความแตกต่างเหล่านี้เมื่อวางแผนมื้ออาหารให้ลูกน้อย


น้ำตาลและเกลือ

-ที่จริงแล้วในแต่ละวันลูกวัยหัดเดินควรได้รับเกลือไม่เกิน 1/6 ของปริมาณสูงสุดที่ผู้ใหญ่ได้รับหรือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรใส่เกลือลงในอาหารที่ทำกินเองที่บ้าน และอาหารผู้ใหญ่บางชนิดก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เนื่องจากมีน้ำตาลหรือเกลือมากเกินไป หรือมีสารปรุงแต่งสีและรสสังเคราะห์
 

ปริมาณที่เหมาะสม

กระเพาะอาหารของเด็กวัยนี้จะมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่ประมาณ 5 เท่า ลูกน้อยจึงต้องการอาหารปริมาณน้อยๆ ในแต่ละมื้อ แต่บ่อยครั้งตลอดวัน ซึ่งอาหารของลูกต้องมีพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ดังนั้น เพื่อให้ได้สัดส่วนของพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสม ลูกวัยหัดเดินจึงต้องกินอาหารมื้อเล็กๆ 3 มื้อต่อวัน พร้อมอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการระหว่างมื้ออย่างสม่ำเสมอ
 

ความต้องการพลังงานและสารอาหาร

ลูกวัยหัดเดินไม่ใช่ผู้ใหญ่ไซส์เล็ก และเด็กต้องการอาหารที่มีไขมันสูงและใยอาหารต่ำแต่ถึงแม้ว่าใยอาหารจะเป็นสิ่งดี แต่ก็ทำให้อิ่มท้อง และการกินมากเกินไปอาจทำให้ลูกไม่ได้รับพลังงานและสารอาหารซึ่งจำเป็นต่อเด็กในวัยนี้ด้วย อาหารหลากชนิดจะมีสารอาหารต่างกัน ดังนั้น การให้ลูกกินอาหารหลากหลายชนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ รวมทั้งเพื่อให้เติบโตอย่างมีสุขภาพดีและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

นม

นมยังคงเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เพราะมีไขมัน พลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และเด็กต้องกินนมประมาณ 20 ออนซ์ต่อวัน 
 

อาหาร หลัก 5 หมู่คืออะไร

คาร์โบไฮเดรต

อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช และมันฝรั่ง 
คุณสามารถให้ลูกกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทุกมื้อและกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ย่อมได้


ผักและผลไม้

เช่น แครอท กล้วย และมะเขือเทศ คุณแม่ต้องพยายามให้ลูกกินผักและผลไม้หลากสีเพราะมีสารอาหารต่างชนิด และควรเน้นให้ลูกกินผักและผลไม้ อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน แต่คุณแม่ควรทราบไว้ด้วยว่า "ส่วน" ของเด็กวัยนี้จะน้อยกว่า "ส่วน" ของผู้ใหญ่


ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

นม ชีส และโยเกิร์ต ควรให้เด็กวัยหัดเดินกินนมทุกวัน แต่คุณแม่ต้องให้ลูกกินอาหารชนิดอื่นที่ทำจากนม ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมควบคู่ไปด้วย ลูกน้อยในวัยนี้ควรกินอาหารที่ทำจากนม 3 ส่วนต่อวัน โดยอาจกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ได้

โปรตีน

เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่วชนิดต่างๆ 
อาหารในกลุ่มนี้มีธาตุเหล็กและไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารจำพวกโปรตีน วันละ 2 ครั้ง เด็กที่กินมังสวิรัติ ควรกินอาหารในกลุ่มนี้ 3 ส่วน และรวมกับอาหารชนิดอื่นหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูงเพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

ไขมันและน้ำตาล

 เช่น น้ำมัน เนย ขนมเค้ก และบิสกิต น้ำมันบางชนิดมีไขมันโอเมก้า 3 และ 6 
 คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารกลุ่มนี้ด้วย แต่ว่าให้กินเป็นอาหารเสริม และไม่ใช่กิน แทนอาหารกลุ่มอื่น


อาหารที่ลูกต้องหลีกเลี่ยง

มีอาหารสำหรับลูกน้อยบางชนิดที่คุณแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และอาหารบางอย่างต้องหลีกเลี่ยงและงดอย่างเด็ดขาดจึงจะดีที่สุด

  • ควรหลีกเลี่ยงการใส่เกลือหรือใส่ให้น้อยที่สุดถ้าจำเป็น และให้ใส่สมุนไพรและเครื่องเทศแทนหากต้องการปรุงรส คุณแม่อย่าลืมตรวจสอบปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารสำเร็จรูปด้วย
  • ควรหลีกเลี่ยงสารเติมแต่งและสารให้ความหวาน เช่น ที่พบในเครื่องดื่มและลูกอม
  • ไข่และอาหารทะเลชนิดมีเปลือกมีผลต่อกระเพาะอันบอบบาง และอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้หากปรุงไม่เหมาะสม ดังนั้น คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • แม้ว่าผลไม้เปลือกแข็งและถั่ว จะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่เด็กบางคนก็แพ้อาหารชนิดนี้และมีปฏิกิริยารุนแรง สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้ แต่ก็อาจสำลักได้ ทางที่ดีที่สุดจึงควรเก็บให้พ้นมือเด็กดีกว่า
Hi-family-resilience-handbook-ipad

รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน”

เพียงสมัครสมาชิกไฮ-แฟมิลี่คลับ เราพร้อมเคียงข้างคุณแม่ทุกช่วงเวลา

  • รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน” โดยคุณหมอเจ้าของเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา”
  • บริการให้คำปรึกษาโดยทีมพยาบาล นักโภชนาการ และคุณแม่
  • ข้อมูลสุขภาพที่เหมาะกับคุณ ผ่าน SMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x