อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารกในปีแรกที่พ่อแม่ควรรู้
เด็กทารกสามารถเริ่มต้นทานอาหารเสริมได้เมื่อไร? อาหารเสริมในแต่ละช่วงวัยของทารกต้องมีลักษณะอย่างไร? พัฒนาการของลูกในการที่จะกินได้ ดูด ดุน เคี้ยว จะเป็นอย่างไร? สังเกตได้อย่างไรกัน?
นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
เด็กทารกสามารถเริ่มต้นทานอาหารเสริมได้เมื่อไร? อาหารเสริมในแต่ละช่วงวัยของทารกต้องมีลักษณะอย่างไร? พัฒนาการของลูกในการที่จะกินได้ ดูด ดุน เคี้ยว จะเป็นอย่างไร? สังเกตได้อย่างไรกัน?
คุณพ่อคุณแม่คงจะมีคำถามมากมาย ตามที่เกริ่นไปข้างต้นอย่างแน่นอนใช่ไหมละคะ เพื่อเป็นการตอบนานาคำถามนี้ เราได้สรุปประเภทอาหารเสริมที่แนะนำตามอายุของทารกน้อยมาให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจอย่างง่ายๆ รวมถึงจุดสังเกตพัฒนาการความพร้อมในการกินแต่ละช่วงอายุมาให้ด้วยค่ะ
อายุลูกน้อย | พัฒนาการการกิน | ประเภทอาหารที่แนะนำ |
---|---|---|
แรกเกิด- 4เดือน | ปฏิกิริยาตอบสนองการทานนมแม่ คือ การหันหน้าเข้าหาอกแม่ การดูดและการกลืน มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อมีวัตถุสัมผัสหรือกดลิ้นโดยการเอาลิ้นดุนสิ่งนั้นออกมา (extrusion reflex) | ของเหลวเท่านั้น นมแม่ |
4-6 เดือน | มีความพร้อมในการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว สามารถชันคอได้มั่นคง มีการทรงตัวของลำตัวได้ดี คว้าของได้ เริ่มเอาของเข้าปาก (extrusion reflex)ใช้ขากรรกรขยับขึ้นลงในการบดอาหาร | ของเหลวเท่านั้น นมแม่ |
6-8 เดือน | นั่งได้ดีขึ้น บดเคี้ยวอาหาร ถือขวดนมเองได้ ส่งเสียงในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อแสดงความต้องการ | นมแม่ และ อาหารตามวัย 1 มื้อ อาหารควรมีเนื้อละเอียดโดยการบดเพื่อให้กลืนได้ง่าย ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นพอหยาบ เลือกใช้ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง หรือแครอท อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย เช่น ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้ปลา ปลา กล้วยครูดสุกหรือผลไม้ |
8-10 เดือน | เริ่มใช้นิ้วมือได้ดีขึ้น เริ่มกำช้อนได้แต่ยังไม่สามารถใช้ได้ดี หยิบอาหารชิ้นเข้าปากทานเองได้ ทานอาหารแข็งได้ดีขึ้น เริ่มชอบทานอาหารที่มีรสชาติ และลักษณะอาหารใหม่ๆ | นมแม่ และ อาหารตามวัย 2 มื้อ อาหารควรหยาบมากขึ้น ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นพอหยาบ และ อาหารที่สามารถหยิบทานเองได้ เช่น ฟักทองนึ่ง มันต้มที่หั่นเป็นชิ้นยาว เป็นต้น เลือกใช้ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง หรือแครอท อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่ ตับไก่ เลือด ตับ ปลา หมูสับหรือบด หมุนเวียนสลับกันไป ผลไม้หั่น |
10-12 เดือน | ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ดี ใช้ช้อนป้อนตัวเองได้บ้าง ฟันขึ้นหลายซี่ สามารถขบเคี้ยวได้เก่งขึ้น เริ่มเรียนรู้ในการทิ้งของและอาหารลงพื้น เริ่มถือถ้วยเองได้ ส่งเสียงและขยับตัวระหว่างมื้ออาหารได้มากขึ้น | นมแม่ และ อาหารตามวัย 3 มื้อ อาหารที่หยิบกินเองได้ อาจเป็นอาหารหั่นแบบลูกเต๋าและสับละเอียด ทานอาหารเหมือนช่วงอายุ 8-10 เดือนแต่ปริมาณมากขึ้น |
12 เดือนขึ้นไป | ต้องการทานอาหารด้วยตนเอง เริ่มถือถ้วยได้ดีขึ้น โดยใช้สองมือประคองถ้วย ชอบเล่นอาหารและอาจทำเลอะเทอะ | อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ ควรมีสารอาหารครบถ้วน และดัดแปลงจากอาหารของผู้ใหญ่ โดยทำให้สุก อ่อนนุ่ม ชิ้นเล็กเคี้ยวง่าย และรสไม่จัด |
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า เด็กบางคนจำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นเคยกับอาหารชนิดใหม่ๆ นานกว่าคนอื่น ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งบอกไว้ว่า ว่าเด็กส่วนใหญ่จะยอมลองอาหารชนิดใหม่ หลังจากถูกคะยั้นคะยอให้กินประมาณ 11 ครั้งเลยนะคะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถให้กินนมแม่ได้ หรือจำเป็นต้องให้กินอาหารเสริม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรให้ทารกกินนมดัดแปลงชนิดเสริมธาตุเหล็ก
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง