นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
0 - 3 เดือน
4 - 6 เดือน
7 - 9 เดือน
10 - 12 เดือน
คุณแม่รู้ไหม? การกระตุ้นพัฒนาการของลูกตั้งแต่แรกเกิด คือกุญแจที่สำคัญ
สำหรับการพัฒนา สมอง, อารมณ์, และทักษะชีวิต ในระยะยาว สมองที่ได้กระตุ้น
ตั้งแต่เนิ่นๆ จะทั้งแกร่ง ยืดหยุ่น และพร้อมลุยทุกการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมด้านสติปัญญา ช่วยฝึกให้สมองของลูกได้เกิดการเรียนรู้ และจดจำ
ฝึกฝนให้ลูกมีสมาธิ สนใจสิ่งรอบข้างและได้ฝึกใช้สมองในการสั่งการให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
ฝึกการสื่อสารร่วมกับพ่อแม่ และช่วยให้ได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย
1. จัดท่าลูกในท่านอนหงาย ก้มหน้าใกล้ลูก ห่างจากหน้าประมาณ 20 ซม.
2. เรียกชื่อลูก หรือใช้ของเล่นกระตุ้นให้ลูกมองตาม
2.1. แรกเกิด - 1 เดือน : มองตามได้ถึงกึ่งกลางลำตัว
2.2. 1 - 2 เดือน : มองตามผ่านกึ่งกลางลำตัวได้
2.3. 2 - 3 เดือน : มองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้เป็นมุม 180 องศา
3. ทำซ้ำ สลับจากซ้ายไปขวา และขวาไปซ้าย
4. หากลูกไม่มองตาม ให้ช่วยประคองหน้าลูกให้หันมองตาม ทำซ้ำจนลูกทำได้เอง
5. เมื่อลูกทำได้เพิ่มความท้าทายด้วยการเพิ่มระยะห่างของของเล่นได้ จาก 20 ซม. เป็น 30 ซม.
Reference
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เข้าถึงได้จาก :https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/dspm/ 21 มิถุนายน 2566
*จากแหล่งอ้างอิงเป็นตัวอย่างในการคิดต่อยอดเพื่อใช้ในการสร้างเกม เนื่องจากการมีรวมช่วงอายุของแต่ละพัฒนาการไว้ด้วยกัน
ส่งเสริมด้านสติปัญญา ฝึกให้สมองของลูกได้เกิดการเรียนรู้ และจดจำใบหน้าของคนที่คุ้นเคย
ฝึกฝนลูกให้มีสมาธิ สมองได้ฝึกการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่งได้
ฝึกการสื่อสารร่วมกับพ่อแม่ เรียนรู้การรับและเข้าใจภาษา พร้อมฝึกฝนการตอบโต้กับพ่อแม่ได้
1. ทดลองพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้การเข้าใจภาษา และฝึกการตอบโต้ด้วยการสบตา
2. เพิ่มความน่าสนใจ ด้วยการทำตาโต ยิ้ม กระพริบตา และหัวเราะ รอให้ลูกตอบโต้ ด้วยสีหน้า หรือการจ้องตา
3. ลองใช้ของเล่นสีสดใส ยื่นไปใกล้ๆ หน้าลูก ฝึกกระตุ้นให้ลูกมองของเล่น สลับกับสบตาพ่อแม่
Reference
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เข้าถึงได้จาก :https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/dspm/ 21 มิถุนายน 2566
*จากแหล่งอ้างอิงเป็นตัวอย่างในการคิดต่อยอดเพื่อใช้ในการสร้างเกม เนื่องจากการมีรวมช่วงอายุของแต่ละพัฒนาการไว้ด้วยกัน
ส่งเสริมให้สมองจดจำเสียงของพ่อแม่และเกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะทำตาม
ฝึกฝนให้ลูกมีความสนใจจดจ่อ
เริ่มให้ลูกรู้จักการเรียนรู้การใช้ภาษา และการฝึกออกเสียง
1. จัดท่าลูกเป็นท่านอนหงาย หรืออุ้มลูก สัมผัสตัวลูก
2. พ่อแม่มองสบตาลูก พูดด้วยเสียงสูงต่ำ เพื่อให้ลูกสนใจ จากนั้นหยุดรอให้ลูกส่งเสียงตอบ
3. เพิ่มการเคลื่อนไหว ด้วยการยื่นหน้าเข้าไปหาลูก สบตาพูดคุย ทำเสียง อู หรือ อือ หรือ อา ในลำคอให้ลูกได้ยิน หลังจากจากนั้นหยุดฟังให้ลูกส่งเสี่ยงตาม
4. เมื่อลูกทำได้ เพิ่มความท้าทายด้วยจการยื่นหน้าออกจากลูกเพิ่มขึ้นจนถึงประมาณ 60 ซม.
Reference
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เข้าถึงได้จาก :https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/dspm/ 21 มิถุนายน 2566
*จากแหล่งอ้างอิงเป็นตัวอย่างในการคิดต่อยอดเพื่อใช้ในการสร้างเกม เนื่องจากการมีรวมช่วงอายุของแต่ละพัฒนาการไว้ด้วยกัน
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง