นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ - เซลล์ไข่และอสุจิที่ปฏิสนธิ แล้วจะเป็นเซลล์เล็กๆที่ เรียก Zygote จะใช้เวลาเดินทางไปยังโพรงมดลูก 36 ชั่วโมง และฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก
เซลล์จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนมีขนาดหลายร้อยเซลล์ ในจำนวนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ด้านในจะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน ส่วนที่อยู่ติดกับผนังมดลูกจะพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นรก
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับนำอาหารจากกระแสเลือดของแม่สู่ลูกน้อย และขับของเสียจากลูกสู่แม่ โดยที่เจ้าตัวน้อยจะอยู่ในถุงน้ำ ซึ่งป้องกันตัวเองจากการกระแทกกระเทือนภายนอก
เพศของลูกจะถูกกำหนดโดยโครโมโซมเพศมาตั้งแต่ต้นแล้ว ช่วงนี้ตัวอ่อน หรือ embryo เริ่มมีการสร้างกระดูกสันหลัง ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท รวมถึงสมองก็เริ่มมีการก่อตัว
ในสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาการของเนื้อเยื่อและอวัยวะสำคัญ ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นกว่าเดิม
กระบวนการกัสตรูเลชัน (Gastrulation) เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาของทารกในครรภ์ ซึ่งจะเปลี่ยนเอ็มบริโอแผง (embryonic disc) ให้กลายเป็น 3 ชั้นเนื้อเยื่อหลัก ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม (ectoderm), เมโซเดิร์ม (mesoderm) และเอนโดเดิร์ม (endoderm)
การพัฒนาระบบประสาทเป็นกระบวนการที่สำคัญและซับซ้อนในช่วงสัปดาห์ที่ 3
• การสร้างท่อประสาท (Neural Tube) เอ็กโทเดิร์มจะเริ่มพับเข้าหากันและสร้างท่อประสาท ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นสมองและไขสันหลัง กระบวนการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาของระบบประสาท
• การสร้างสมอง เริ่มจากท่อประสาทส่วนบนจะพัฒนาไปเป็นสมองส่วนต่างๆ และเริ่มมีการสร้างเซลล์ประสาท (neurons) ที่เป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย
คุณแม่บางรายอาจยังไม่รู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ เพราะบางครั้งไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอาจทำให้มีเลือดซึมออกมาได้ เลือดจะออกน้อยกว่าประจำเดือนปกติ ออกมาประมาณ 1-2 วัน จนบางครั้งคุณแม่อาจคิดว่าเป็นประจำเดือน ช่วงนี้เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนมาเลี้ยงมากขึ้น
มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นเพื่อให้สารอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ
คุณแม่ต้องเอาใจใส่กับคุณภาพลูกน้อยในครรภ์อย่างจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ทานอาหารที่มีกรดโฟลิคและธาตุเหล็กสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความสมบูรณ์ ที่สำคัญ ควรไปเช็คสุขภาพปากและฟันเสียแต่เนิ่นๆ เพราะหากท้องคุณแม่ใหญ่ขึ้นอาจมีปัญหาในการรักษาฟันผุได
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง