นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

อาการคนท้อง

อาการคนท้อง

22 อาการคนท้อง สัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่คุณควรรู้

เลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการ

อาการคนท้องที่ 1: ประจำเดือนขาด

อาการคนท้องที่ 2: คลื่นไส้อาเจียน

อาการคนท้องที่ 3: เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย

อาการคนท้องที่ 4: ปัสสาวะบ่อยขึ้น

อาการคนท้องที่ 5: ท้องอืด

อาการคนท้องที่ 6: ปวดศีรษะ

อาการคนท้องที่ 7: เวียนศีรษะ

อาการคนท้องที่ 8: ท้องผูก

อาการคนท้องที่ 9: มีตกขาวเพิ่มขึ้น

อาการคนท้องที่ 10: อารมณ์แปรปรวน

อาการคนท้องที่ 11: คัดตึงเต้านม

อาการคนท้องที่ 12: อยากอาหารหรือเบื่ออาหาร

อาการคนท้องที่ 13: ไวต่อกลิ่น

อาการคนท้องที่ 14: น้ำหนักเพิ่มหรือลด

อาการคนท้องที่ 15: ปวดหลัง

อาการคนท้องที่ 16: ผิวพรรณเปลี่ยนแปลง

อาการคนท้องที่ 17: เป็นตะคริว

อาการคนท้องที่ 18: เหงือกบวมและมีเลือดออก

อาการคนท้องที่ 19: หายใจถี่

อาการคนท้องที่ 20: ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง

อาการคนท้องที่ 21: ข้อเท้าบวม

อาการคนท้องที่ 22: รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก (ในไตรมาสที่สอง)

การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองที่บ้าน

การตรวจครรภ์ให้แน่ใจที่โรงพยาบาล

สรุป

 

เมื่อคุณเริ่มสงสัยว่าตนเองอาจกำลังตั้งครรภ์ มักมีคำถามที่มักเกิดขึ้นบ่อยคือ “อาการของคนท้องเป็นอย่างไร?” หรือ “คนท้องมีอาการยังไงบ้าง?” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาการตั้งครรภ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจไม่มีอาการชัดเจน ในขณะที่บางคนอาจพบการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การทำความเข้าใจ อาการของคนท้อง และ วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตร หรือสงสัยว่าตนเองอาจกำลังตั้งครรภ์ บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ อาการของคนตั้งครรภ์ ที่พบบ่อย พร้อมแนวทางในการสังเกตเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คุณมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

หากคุณสงสัยว่า “จะรู้ได้ไงว่าท้อง?” วิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจครรภ์เพื่อยืนยัน โดยสามารถใช้ชุดตรวจครรภ์ที่บ้าน หรือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด และสามารถอ่านคำแนะนำเพิ่มเติมจากเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ

อาการคนท้องที่ 1: ประจำเดือนขาด

สัญญาณแรกที่ทำให้หลายคนสงสัยว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ หากคุณมีรอบเดือนที่สม่ำเสมอและประจำเดือนขาดหายไป ควรลองใช้ชุดตรวจครรภ์เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น

อาการคนท้องที่ 2: คลื่นไส้อาเจียน

อาการแพ้ท้องมักเริ่มต้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงเช้าหรือหลังรับประทานอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย

อาการคนท้องที่ 3: เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย

ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้บางคนรู้สึกเหนื่อยง่าย ง่วงนอนบ่อย และอ่อนเพลีย

อาการคนท้องที่ 4: ปัสสาวะบ่อยขึ้น

ด้วยมดลูกที่ขยายตัวและฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ทำให้คุณรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

อาการคนท้องที่ 5: ท้องอืด

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด คล้ายกับอาการก่อนมีประจำเดือน

อาการคนท้องที่ 6: ปวดหัว

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

อาการคนท้องที่ 7: เวียนศีรษะ

ความดันโลหิตที่ลดลงในช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว หรือรู้สึกหน้ามืดเป็นบางครั้ง

อาการคนท้องที่ 8: ท้องผูก

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้เคลื่อนตัวช้าลง ทำให้เกิดอาการท้องผูก ควรดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

อาการคนท้องที่ 9: มีตกขาวเพิ่มขึ้น

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้มีตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะปกติของการตั้งครรภ์

อาการคนท้องที่ 10: อารมณ์แปรปรวน

ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้คุณอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด หรือรู้สึกเศร้าโดยไม่มีสาเหตุ

อาการคนท้องที่ 11: คัดตึงเต้านม

เต้านมอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น คัดตึง และรู้สึกเจ็บเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น

อาการคนท้องที่ 12: อยากอาหารหรือเบื่ออาหาร

บางคนอาจรู้สึกอยากอาหารบางประเภทมากกว่าปกติ หรือในทางกลับกันอาจเบื่ออาหารที่เคยชอบ

อาการคนท้องที่ 13: ไวต่อกลิ่น

บางคนอาจรู้สึกว่ากลิ่นอาหาร หรือกลิ่นที่เคยชอบกลายเป็นกลิ่นเหม็น และอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้

อาการคนท้องที่ 14: น้ำหนักเพิ่มหรือลด

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักอาจลดลงเนื่องจากอาการแพ้ท้อง แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง น้ำหนักจะเริ่มเพิ่มขึ้น

อาการคนท้องที่ 15: ปวดหลัง

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้รู้สึกปวดหลังช่วงล่างตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์

อาการคนท้องที่ 16: ผิวพรรณเปลี่ยนแปลง

บางคนอาจมีผิวหน้ามันขึ้น สิวขึ้น หรือในบางรายผิวอาจเปล่งปลั่งขึ้น เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น

อาการคนท้องที่ 17: เป็นตะคริว

ระบบไหลเวียนเลือดที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ขาบวม และบางคนอาจเป็นตะคริวบ่อยขึ้น

อาการคนท้องที่ 18: เหงือกบวมและมีเลือดออก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้เหงือกบวม แพ้ง่าย และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน

อาการคนท้องที่ 19: หายใจถี่

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจถี่ขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น

อาการคนท้องที่ 20: ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง

บางคนอาจมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความรู้สึกทางอารมณ์

อาการคนท้องที่ 21: ข้อเท้าบวม

การไหลเวียนโลหิตที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวมากขึ้น ส่งผลให้ข้อเท้าหรือเท้าบวม

อาการคนท้องที่ 22: รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก (ในไตรมาสที่สอง)

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก ซึ่งอาจเป็นการดิ้น กระตุก หรือสะอึก

 

การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองที่บ้าน เป็นวิธีง่าย ๆ ในการเช็กว่าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือไม่

 

เมื่อร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีอาการที่คล้ายกับอาการคนท้องแล้ว ไม่ว่าคุณจะมั่นใจหรือยังลังเลอยู่ การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นวิธีแรกที่สามารถช่วยให้คุณทราบผลเบื้องต้นได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม หากคุณยังไม่แน่ใจ สามารถปรึกษาสูติแพทย์ใกล้บ้านได้

การเลือกชุดตรวจครรภ์: ควรเลือกแบบไหนให้ผลแม่นยำ?

สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อต้องเลือกชุดตรวจ ควรเลือกใช้ชุดตรวจครรภ์ที่ได้มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ ได้แก่ ความไวของชุดตรวจ, วิธีการใช้งาน, ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ วิธีการจัดเก็บของร้าน วันผลิต วันหมดอายุ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป

ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ควรทำตามขั้นตอนดังนี้ - ศึกษาวิธีใช้จากบรรจุภัณฑ์ของชุดตรวจแต่ละประเภทที่แนบมากับชุดตรวจ - เก็บปัสสาวะ โดยใช้ปัสสาวะครั้งแรกในช่วงเช้าหลังตื่นนอน เนื่องจากมีความเข้มข้นของฮอร์โมนสูง - นำแถบตรวจลงไปจุ่มในปัสสาวะตามเวลาที่กำหนด (ปกติ 5-10 วินาที) - รอผลของการจุ่ม โดยปล่อยให้แถบตรวจทำปฏิกิริยาตามเวลาที่กำหนด (ประมาณ 1-3 นาที) จากนั้นสังเกตแถบสีที่ปรากฏเพื่อดูว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่

การอ่านผลการตรวจครรภ์

หากขึ้นสองขีด หมายความว่าตรวจพบฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หากขึ้น ขีดเดียว หมายความว่าคุณอาจยังไม่ตั้งครรภ์ หรืออาจตรวจเร็วเกินไป ควรลองตรวจใหม่ในอีก 2-3 วัน แต่ถ้าหากไม่มีขีดขึ้นเลย อาจเกิดจากความผิดพลาดในการใช้งานชุดตรวจ หลังจากตรวจพบการตั้งครรภ์ ผลตรวจเป็นบวก (ขึ้นสองขีด) สิ่งที่ควรทำต่อไป คือเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยทันที โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ปรุงถูกหลักอนามัย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เหมาะสมสำหรับคนท้อง เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก หรือ สุกๆดิบๆ,อาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน ได้แก่ อาหารทะเลที่อาจมีการปนเปื้อนสารปรอทสูง , เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ " รวมทั้งระมัดระวังในการใช้ยา หากคุณสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนขาด, คลื่นไส้อาเจียน, เหนื่อยง่าย, ปัสสาวะบ่อย, ท้องอืด, ปวดหัว, เวียนศีรษะ เป็นต้น ตามอาการที่น่าจะเกิดขึ้น 22 อาการคนท้อง หากมีอาการเหล่านี้ ควรตรวจครรภ์ด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจครรภ์ที่บ้าน หรือพบแพทย์เพื่อความแน่ใจ การเลือกชุดตรวจที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกต้องจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อทารก

หากคุณสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนขาด, คลื่นไส้อาเจียน, เหนื่อยง่าย, ปัสสาวะบ่อย, ท้องอืด, ปวดหัว, เวียนศีรษะ เป็นต้น ตามอาการที่น่าจะเกิดขึ้น 22 อาการคนท้อง หากมีอาการเหล่านี้ ควรตรวจครรภ์ด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจครรภ์ที่บ้าน หรือพบแพทย์เพื่อความแน่ใจ การเลือกชุดตรวจที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกต้องจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อทารก

คำนวณอายุครรภ์

กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

คำนวณวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์

รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

วันครบกำหนดคลอดคือ

Due Date Result Label

8 april 2018

Week Result Label

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

สมัครสมาชิก

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x