อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร
อาการแพ้ท้องมี 3 ระดับ และระดับที่มากสุดที่พบไม่บ่อยนัก สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า "HCG" (Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้
จิตใจอ่อนไหว เครียด วิตกกังวลง่าย อารมณ์แปรปรวน
ประสาทรับกลิ่นมีความไวมากขึ้น เช่น เหม็นอาหาร เหม็นกลิ่นต่างๆ
รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลียง่าย
เบื่ออาหารที่เคยทาน แต่อยากทานอาหารแปลกๆ
เมื่อไหร่ถึงจะหายอาการแพ้ท้อง
สำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องต่างๆ เช่น รู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย หรืออาเจียนเป็นบางครั้งคราว ไม่ต้องกังวล เพราะอาการแพ้ท้องเหล่านี้จะหายไปเมื่อมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน แต่หากพบว่า มีอาการแพ้ท้องที่หนักกว่านี้ เช่น อาเจียนบ่อย จนคออักเสบ และพบว่าตัวเองไม่สามารถกินอะไรได้เลย ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
5 วิธีบรรเทาอาการแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้องเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร บางคนอาจมีอาการหนักถึงขั้นกินอะไรไม่ลงเลย ส่งผลต่อร่างกายและอารมณ์โดยรวม แต่โชคดีที่มีวิธีการบรรเทาอาการแพ้ท้อง พะอืดพะอม แก้ยังไง แล้วเมื่อแพ้ท้องกินอะไรดี ซึ่งมีได้หลายวิธี นี่คือ 5 เคล็ดลับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง และทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น
- กินอาหารทีละน้อย แต่บ่อยขึ้น เช่น ทุก 2-3 ชั่วโมง อาหารที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังกรอบ กล้วย ข้าวต้ม หรือซุปอุ่น ๆ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง เพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องและทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
- จิบน้ำบ่อย ๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ คุณแม่ควรจิบน้ำเปล่า หรือน้ำที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง เช่น น้ำขิง น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือชาสมุนไพรอ่อน ๆ
- หลีกเลี่ยงกลิ่นที่กระตุ้นให้คลื่นไส้ ด้วยคุณแม่ไวต่อกลิ่นมากขึ้น จนบางครั้งกลิ่นอาหารหรือเครื่องปรุงที่เคยชอบกลายเป็นตัวกระตุ้นให้แพ้ท้อง
- เลือกอาหารที่ช่วยลดอาการแพ้ท้อง อาหารบางชนิดสามารถช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ เช่น ขิง, มะนาว, โยเกิร์ต, แตงโมหรือผลไม้ที่มีน้ำเยอะ และแครกเกอร์หรือขนมปังกรอบ อาหารเหล่านี้ไม่เพียงแค่ช่วยลดอาการคลื่นไส้ แต่ยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น
- การพักผ่อนให้เพียงพอและหาวิธีผ่อนคลายจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น การบรรเทาอาการแพ้ท้องอาจเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าหากคุณแม่ยังคงรู้สึกแพ้ท้องหนักมาก กินอะไรไม่ได้เลย หรือร่างกายเริ่มอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม และตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ให้ปลอดภัย
นอกจากนั้น พ่อแม่ควรเข้าใจว่า อาการแพ้ท้อง เป็นเรื่องธรรมชาติที่มากับการตั้งครรภ์ มันจึงไม่สามารถจะป้องกันอะไรได้ เพราะอาการแพ้ท้องเป็นอาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของแม่ตั้งครรภ์ แต่อย่างน้อย แม่สามารถบรรเทาอาการให้น้อยลงได้ ด้วยวิธีเช่น ผักผ่อนมากๆ ให้เพียงพอ อย่าเครียดง่าย พยายามเพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้มาก และงดอาหารมัน เช่น อาหารทอด อาหารผัด อย่าทานครั้งละมากๆ แต่ให้ทานบ่อยๆ แทน และงดของต้องห้ามของคนท้องทุกอย่าง เช่น เหล้า บุหรี่
อาการแพ้ท้องระดับที่ 1 แบบเบาๆ
อาการ Morning Sickness พบได้ในคนท้องส่วนมาก คือเป็นกันมากที่สุด เป็นอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะระดับเล็กน้อย มาเป็นครั้งคราว และอาการพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นในตอนเช้า ส่งผลให้ไม่ค่อยเจริญอาหาร และอาจมีการอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว ไม่บ่อย ถือเป็นอาการปกติธรรมชาติของคนท้องทั่วไป ไม่ควรกังวลใดๆ ควรลดอาการแพ้ท้องนี้ด้วยการดื่มน้ำอุ่นจัด ๆ เป็นประจำ หรือทุกครั้งเมื่อรู้สึกคลื่นไส้ และกินอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ และของคาวจะดีที่สุด
อาการแพ้ท้องระดับที่ 2 ระดับกลาง (ต้องพบแพทย์)
ในการแพ้ท้องระดับ 2 นี้ คนท้องจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจถึงระดับที่รับประทานอาหารยาก แม้พักผ่อนเพียงพอ แต่อาการอาจไม่ดีขึ้นเลย พบว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์ พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
อาการแพ้ท้องระดับที่ 3 Hyperemesis Gravidarum (HG)(ต้องพบแพทย์)
อาการแพ้ท้องระดับที่หนักที่สุด คือระดับ 3 นี้ที่จะพบน้อยมากที่สุด อาการคือ คนท้องจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย คลื่นไส้หนัก และอาเจียนอย่างหนัก แทบจะตลอดเวลา ถึงขนาดทำให้ร่างกายขาดน้ำ บางคนอาจเลือดปนมากับอาเจียน พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อาการแพ้ท้องในระดับนี้ โดยทั่วไป ร่างกายจะแสดงอาการอย่างเร็ว และยังจะกินระยะเวลาการแพ้ท้องนานกว่าคนท้องทั่วไปอีกด้วย
ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการแพ้ท้องในระดับ 3
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
- คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
- คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด
- คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
ระยะเวลาเริ่มมีอาการแพ้ท้อง
ส่วนมาก อาการแพ้ท้องมักเป็นกันในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งท้อง ถ้าเป็นผู้ที่มีอาการแพ้ท้องเร็ว อาจจะเริ่มมีอาการในช่วงที่รู้สึกว่า รอบประจำเดือนมาช้า มีหลายกรณีที่มีอาการแพ้ท้องตั้งแต่ประมาณ 4 สัปดาห์จนถึงประมาณ 15 สัปดาห์ และช่วงเวลาที่จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ ที่จะทรมานที่สุดจะเป็นช่วง 8-9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่อย่าลืมว่า ช่วงเวลาของการแสดงอาการแพ้ท้องจะไม่เหมือนกันในแต่ละคน และบางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือไม่เป็นเลยก็มีเช่นกัน
5 อาการที่พบบ่อยของอาการแพ้ท้อง
- จมูกไวต่อกลิ่น เหม็นง่าย
- เวียวหัว และคลื่นไส้อาเจียน โดยไม่มีเหตุผล
- อึดอัดท้องและหน้าอก
- ความรู้สึกอยากกินอาหารที่เปลี่ยนไป
- รู้สึกง่วงนอนง่ายและบ่อยกว่าปกติ
อาการแพ้ท้องแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
แม้อาการแพ้ท้องจะเป็นเรื่องปกติในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในบางกรณีอาจรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ หากพบอาการผิดปกติต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
-อาเจียนรุนแรงและต่อเนื่อง จนไม่สามารถรับประทานหรือดื่มน้ำได้ มีอาการขาดน้ำ
-น้ำหนักลดลงมากผิดปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และเวียนศีรษะบ่อย
-ปวดท้องรุนแรง หรือมีไข้ร่วมด้วย
-อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดปนในน้ำดี
-ปัสสาวะน้อยผิดปกติ หรือไม่ปัสสาวะเลย
อาการแพ้ท้อง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยมักเกิดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาเจียน และอาการอื่น ๆ เช่น เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย และมีความไวต่อกลิ่น สิ่งที่เราควรสังเกตคืออาการที่บ่งบอกและเห็นได้ชัด หากเกิดเหตุการณ์ที่มากกว่านั้นและมีความกังวลแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและดูแลก่อนอาการจะมากขึ้นกว่าเดิม