นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

น้ำนมน้อยไป น้ำนมมากไป สังเกตอย่างไร

การให้นมแม่ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้ลูก เมื่อเจ็บป่วยอาการก็จะหายเร็วขึ้น นมแม่ย่อยง่าย การให้ลูกทานนมแม่ช่วยเพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างแม่ลูก และยังมีงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการทานนมแม่กับการเพิ่มไอคิวของลูกน้อยอีกด้วย

นอกจากนั้นการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ก็ยังมีประโยชน์กับตัวแม่เอง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ และโรคเบาหวาน แถมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อนมผงเป็นประจำ รวมทั้ิงค่ารักษาพยาบาลของลูก เพราะทารกจะมีภูมิต้านทานโรคที่ดีกว่าการดื่มนมผง

แต่สำหรับแม่บางคนการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องพบกับอุปสรรค เช่น น้ำนมน้อย ไม่เพียงพอให้กับลูกน้อย หรืออาการเจ็บที่หัวนมเมื่อให้นมลูก ฯลฯ

การที่จะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ให้ประสบความสำเร็จนั้น ก่อนอื่นควรรู้ก่อนว่า ปริมาณน้ำนมแม่ควรมีเท่าไหร่ แบบไหนที่เรียกว่าเพียงพอ

ปริมาณน้ำนมแม่ตามเกณฑ์เป็นอย่างไร

แม่แต่ละคนก็จะสามารถผลิตปริมาณน้ำนมแตกต่างกันไป ด้วยความสามารถในการผลิตและกักเก็บน้ำนมที่ต่างกัน ไม่ได้วัดกันด้วยขนาดของเต้านมแม่ แต่วัดกันด้วยความสามารถของต่อมผลิตน้ำนมแม่นั่นเอง ซึ่งใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ควรผลิตได้มากขึ้นตามลำดับดังนี้

1. 2 วันแรกหลังคลอด จะไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ต่อวัน

2. 4-5 วันหลังคลอด ประมาณ 500 มิลลิลิตร ต่อวัน

3. 2 อาทิตย์หลังคลอด ประมาณ 750-1000 มิลลิลิตร ต่อวัน

โดยใน 2-3 วันแรก แม่จะพบว่ามีน้ำนมเหลืองตามธรรมชาติ ที่อาจมีออกมาแค่ไม่กี่หยด น้ำนมมักจะเริ่มมามากขึ้นหลังจาก 2-6 วันหลังคลอดไปแล้ว และการผลิตน้ำนมอย่างสม่ำเสมอจะเกิดขึ้นเองอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว

3 วิธีสังเกตว่าลูกได้รับนมเพียงพอหรือไม่

พ่อแม่หลายคนอาจสงสัยและกังวลว่าลูกต้องการน้ำนมแม่ในปริมาณเท่าไร เพียงพอหรือไม่ และจะทราบได้อย่างไรว่า ลูกได้รับน้ำนมที่เพียงพอ เรามี 3 วิธีในการสังเกตว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ ดังนี้

1. ลูกนอนหลับดี นอนหลับนาน 2-3 ชั่วโมง

2. จำนวนปัสสาวะและอุจจาระเหมาะสมตามอายุของทารก ถ้าได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ลูกน้อยจะถ่ายอุจจาระสีเขียวเข้ม ไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือ อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือ ปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งต่อวัน หรือ มีสีเหลืองเเข้ม เป็นตะกอนสีส้ม

3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์อายุ หากได้รับน้ำนมที่ไม่เพียงพอ น้ำหนักหลังอายุ3-5 วันลดลงเรื่อย ๆ หรือยังไม่เท่าน้ำ หนักแรกคลอดที่อายุ7-10 วัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำนมมากเกินไป

สำหรับแม่ที่มีน้ำนมมาก เวลาให้นม จะทำให้ลูกน้อยกลืนไม่ทัน หรือน้ำนมพุ่งลงคอทำให้สำลักได้ ดังนั้นแม่ต้องคอยสังเกตด้วยว่า ลูกดูดนมทันหรือไม่ ซึ่งจะดูได้จากอาการของลูก ว่าลูกมีอาการดิ้นทุรนทุรายระหว่างดูดนมหรือไม่

และหลังจากลูกดูดนมเรียบร้อยแล้ว ให้ดูว่า หัวนมมีสีซีดขาว และหัวนมเป็นรอยพับหรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่าลูกเอาลิ้นดันไว้ เพราะดื่มไม่ทัน สำหรับวิธีการแก้ไข กรณีที่มีน้ำนมมากเกินไป แนะนำคุณแม่ บีบหรือปั๊มน้ำนมออกเล็กน้อยก่อนให้ลูกดูดนม ปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมโดยให้แม่อยู่ในท่านอนหงาย ให้ลูกนอนคว่ำบนอกแม่ หรือใช้ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนเพราะจะทำให้น้ำนมไหลช้าลง

https://www.vejthani.com/th/2018/01/เทคนิคจัดการน้ำนมแม่/

https://www.unicef.org/thailand/th/stories/นมแม่แน่แค่หกเดือน-จริงหรือ

https://www.childrens.health.qld.gov.au/fact-sheet-expressing-breast-milk-for-your-baby/

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x