นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
สำหรับแม่ที่กำลังเลี้ยงเด็กแรกเกิดที่ต้องการน้ำนมแม่มากที่สุดวัย 0 – 1 ขวบ แต่มีน้ำนมน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อปริมาณที่ควรให้ลูก นอกจากนี้ แม้หลังจากลูกมีอายุเกิน 1 ขวบ ลูกก็อาจจะยังกินนมแม่อยู่ แต่เพิ่มอาหารเสริมให้กับลูกน้อยควบคู่ไปตามช่วงวัยของลูก และนั่น ก็อาจทำให้แม่หลายคนกังวลถึงเรื่องน้ำนมแม่ ที่อาจไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูกน้อย นอกจากเรื่องปริมาณน้ำนมน้อยแล้ว ก็ยังมีเรื่องของคุณภาพนมแม่ คุณแม่ที่มีน้ำนมมาก ก็ยังต้องรู้วิธีการเพิ่มน้ำนม ด้วยการกินที่ถูกอนามัยและเสริมสารอาหารให้กับตนเอง นั่นคือวิธีหนึ่งในการเพิ่มน้ำนมอย่างมีคุณภาพ ลองมาดูเคล็ดลับสำคัญ 3 ข้อที่อาจช่วยในการจะเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ รวมถึงการแนะนำอาหารต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่สามาถผลิตน้ำนมแม่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างมีคุณภาพ ดังนี้ค่ะ
การให้ลูกดูดนมจากเต้าของคุณแม่เป็นการกระตุ้นการเพิ่มน้ำนมอย่างหนึ่ง คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้มากเท่าที่ลูกต้องการโดยไม่จำเป็นต้องกังวลถึงช่วงเวลาที่ต้องให้นม หรือการทำตามตารางเวลาการให้นมมากนัก โดยให้คุณแม่สังเกตอาการของลูกน้อยที่เขาอาจจะกำมือ หรือร้องไห้ แสดงอาการหิวนมออกมา คุณแม่ก็สามารถที่จะให้นมแก่เขาได้เลย ข้อสำคัญคือการที่คุณแม่จัดตัวลูก และนำเข้าเต้าอย่างถูกวิธี การโอบอุ้มที่แนบชิด การเปิดปากของลูกออกให้กว้างมากพอ หรือขยับเต้านมของคุณแม่เองให้เข้าปากลูกจนถึงที่บริเวณลานนม จะทำให้การกดน้ำนมตรงท่อน้ำนมบริเวณนั้นจากเหงือกของลูกน้อยจะเรียกดันน้ำนมออกมาได้มากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ และคุณแม่เองจะไม่เจ็บบริเวณหัวนม เพราะการให้ลูกงับดูดนมเพียงแต่บริเวณหัวนมอาจทำให้คุณแม่หัวนมแตก แสบ บางรายถึงขั้นเลือดไหล ไม่สามารถให้น้ำนมแก่ลูกอย่างต่อเนื่องอีกได้ และอาจจำเป็นต้องใช้พลาสติกตัวครอบหัวนมบังบริเวณหัวนมชั้นหนึ่งก่อนที่จะให้ลูกน้อยดูด ซึ่งไม่ได้ทำให้คุณแม่หายเจ็บ แค่เพียงบรรเทาอาการสัมผัสถูกบาดแผลเจ็บช้ำบริเวณหัวนมเท่านั้น
อีกวิธีในการเพิ่มน้ำนมแม่คือ ในขณะที่ลูกน้อยไม่ต้องการดูดนม คุณแม่อาจใช้ตัวช่วยคือเครื่องปั๊มน้ำนม เพื่อกระตุ้นการเกิดน้ำนมขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องปั้มน้ำนมสองข้างพร้อมกัน เพิ่อช่วยในการประหยัดเวลาและทำให้เกิดการกระตุ้นไปด้วยกันพร้อมกันทั้งสองข้าง หากไม่สามาถจัดหาเครื่องกระตุ้นน้ำนมได้ คุณแม่อาจใช้ลูกยางบีบคัดน้ำนมออกมาเพื่อเป็นการกระตุ้นได้อีกทางหนึ่ง หากคุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน การกระตุ้นน้ำนมจากช่วงเวลาปกติไม่ควรหายไป คุณแม่ควรใช้เครื่องกระตุ้นหรือหัวบีบเพื่อการกระตุ้นน้ำนมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาทุก ๆ สองชั่วโมงออกไปปั๊มน้ำนมเก็บไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรให้ลูกได้กินน้ำนมของคุณแม่ที่เก็บไว้ผ่านขวดนมมากนัก เพราะจะทำให้ลูกน้อยชินต่อการดูดนมจากขวด ทำให้ขาดความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างการกินนมและการได้ดูดกินน้ำนมที่สดใหม่จากเต้าของคุณแม่อีกต่อไป รวมถึงคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้นมผงชงให้ลูกกินในเวลาที่คุณแม่ไม่สามารถให้ลูกกินนมเองได้ด้วย นอกจากการติดรสชาดของนมผงแล้ว ตัวสารอาหารที่สำคัญต่อเด็กเล็กและสารเพิ่มภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กในวัยนี้ล้วนอุดมอยู่ในน้ำนมแม่ทั้งสิ้น
วิธีเพิ่มน้ำนมแม่วิธีสุดท้ายคือการเลือกทานอาหารของแม่เอง รวมถึงการต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ที่อาจจะยากสักหน่อยในตอนแรก โดยปกติแล้วคุณแม่ต้องต้องได้รับสารอาหารและปริมาณอาหารมากกว่าคนปกติ เนื่องจากคุณแม่ต้องใช้ส่วนหนึ่งในการผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงดูลูกน้อย แต่อาหารที่คุณแม่รับประทานควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ เพราะทุกอย่างที่คุณแม่รับประทานล้วนมีส่วนส่งผลต่อลูกน้อยทั้งสิ้นผ่านทางน้ำนมของคุณแม่เอง อาหารที่แนะนำจึงจำเป็นต้องเป็นอาหารครบห้าหมู่ ที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเน้นอาหารจำพวก พืชผัก อย่างผักใบเขียว และผักหลากสี ทั้งม่วง แดง เหลือง ขาว เขียว ส้ม โปรตีน เช่น ไข่ ปลา และอาหารไขมันดี จำพวกอโวคาโด ส่วนอาหารที่เพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่โดยตรง จะได้แก่อาหารประเภทผัก ผลไม้ และเครื่องเทศ เช่น ผักคะน้า ผักชีลาว ผักชีฝรั่ง ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักโขม หัวปลีกล้วย แครอท มันเทศ ขิง กระเทียม เมล็ดยี่หร่า วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ รวมถึงอาหารประเภทปรุงสำเร็จ เช่น ขนมกุ่ยช่าย ต้มจืดตำลึง แกงเลียงกุ้ง แกงมะรุมใส่ปลา หน่อไม้ฝรั่งผัดน้ำมันหอย และต้มข่าหัวปลีไก่แบบไม่เผ็ด อาหารว่างที่ควรรับประทานอย่างเช่น มะละกอ ลูกอินผาลัม หรือเม็ดขนุนต้ม เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เป็นเคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ที่ควรนำไปปฎิบัติ เพราะไม่เพียงแต่คุณแม่มือใหม่เท่านั้น ที่อาจประสบกับปัญหาของการเพิ่มน้ำนม แต่คุณแม่ที่กำลังมีบุตรคนที่สองหรือสามเอง ก็อาจจะกำลังต้องการวิธีในการเพิ่มน้ำนมอยู่ ก็สามารถที่จะนำเทคนิคทั้ง 3 ข้อนี้ ไปลองใช้ได้เช่นเดียวกัน
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง