นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก ปัญหาที่พ่อแม่ต้องรู้

ภูมิแพ้อาหารเป็นอีกปัญหาโภชนาการในเด็กเล็ก ภูมิแพ้เป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากกินอาหารบางอย่างเข้าไป ซึ่งการแสดงอาการจะเกิดมากในเด็กวัยต่ำกว่า 3 ปี และค่อยๆ หายเมื่ออายุ 5 ปี นะคะ

จริงๆ แล้วสาเหตุของภูมิแพ้อาหารก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน โดยคาดว่า อาจเกิดมาจากยีนหรือสารพันธุกรรมบางอย่าง โดยการดูจากประวัติครอบครัว อาจจะชี้แนวโน้มที่เด็กจะเป็นภูมิแพ้ได้ การที่ระบบภูมิต้านทานของทารกมีความไวต่อสิ่งแปลกปลอม หรือสภาวะบางอย่างในกระเพาะและทางเดินอาหารก็อาจเป็นสาเหตุอาการภูมิแพ้ได้ค่ะ

ปกติระบบภูมิต้านทานของคนเรา ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเข้าใจว่าอาหารที่ทานเข้าไปเป็น “สิ่งแปลกปลอมแต่ปลอดภัย” และเมื่อมีบางอย่างผิดปกติระหว่างการแปรสภาพอาหารในระบบย่อยอาหาร ร่างกายจะมีปฏิกิริยาไวต่ออาหาร จนทำให้ระบบภูมิต้านทานเข้าใจว่าอาหารนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและเป็นภัยคุกคาม จึงผลิต “markers” (เช่น อิมมูโนโกลบูลิน IgE หรือ IgG) สำหรับอาหารนั้น และเมื่อทานอาหารนั้นเข้าไปอีก อาหารที่ทานจะเจอกับ “markers” ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารเคมีต่างๆ เช่น ฮิสตามีน ทำให้เกิดอาการแรกเริ่มของภูมิแพ้อาหารได้ค่ะ  

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะ ว่าภาวะร่างกายที่ไม่ทนต่ออาหารบางชนิด (food intolerance)  และปฏิกิริยาไวต่ออาหารบางอย่างนั้น(food sensitivity)  ต่างจากภูมิแพ้อาหาร(food allergy) นะคะ ภาวะสองอย่างแรกนั้น เป็นปฏิกิริยาต่ออาหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองใดๆ ของระบบภูมิต้านทาน ตัวอย่างเช่น เด็กที่ไม่มีเอนไซม์เพื่อย่อยแลคโตส หรือน้ำตาลในนม จึงมีอาการท้องเสียและท้องไส้ปั่นป่วนเมื่อดื่มนมเข้าไป

อาการแรกเริ่มที่แสดงว่าเป็นภูมิแพ้อาหาร สามารถแสดงได้หลายระบบและมีความหลากหลายในแต่ละคน เช่น ผื่นแดง ไข้ละอองฟาง ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ไซนัสอักเสบ หืดหอบ ซึ่งจะเกิดเมื่อมีการกินอาหารบางประเภทไปเป็นตัวกระตุ้น ร่างกายที่มีความไวจึงแสดงอาการแพ้ เป็นปฏิกิริยาตอบสนอง

อาหาร 8 ประเภทที่พบบ่อยว่ามีสารก่อให้เกิดภูมิแพ้

  1. ข้าวสาลี
  2. นมวัว
  3. ไข่
  4. ถั่วลิสง
  5. พืชตระกูลถั่ว ได้แก่ อัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท
  6. ปลา ได้แก่ ปลาคอต ปลากะพง ปลาฟลาวเดอร์
  7. สัตว์น้ำที่มีเปลือก ได้แก่ ปู กุ้งทะเลขนาดใหญ่ กุ้งขนาดเล็ก
  8. ถั่วเหลือง

ภาวะภูมิแพ้ในเด็กอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากอาจเกิดมาจากพันธุกรรม แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดอาการแรกเริ่มในตัวลูกน้อยได้ด้วยโภชนาการ * โภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตเป็นกุญแจสำคัญของการป้องกันการแพ้อาหารนะคะ

เสริมสร้างระบบภูมิต้านทานและระบบย่อยอาหารด้วยการกินอาหารที่สมดุลและหลากหลาย ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับให้เพียงพอ

อ่านฉลากและเข้าใจข้อมูลต่างๆ บนฉลาก และเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสม

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่ต้องการค่ะ เพราะการให้นมแม่ คือโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งมีบทบาทช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ และกระตุ้นภูมิต้านทานอย่างเป็นธรรมชาติ

ให้ลูกกินอาหารเสริมตอนอายุ 6 เดือนเท่านั้น อย่าเริ่มเร็วกว่านั้นนะคะ โดยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะนมแม่คือรากฐานของพัฒนาการทั้งร่างกายและระบบภูมิต้านทาน

เมื่อให้ลูกเริ่มทานอาหารเสริมตามวัย ควรให้กินอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้น้อย เริ่มให้ลูกทานอาหารเสริมตามวัยทีละชนิด ในปริมาณน้อยๆ เพียงวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อน แล้วค่อยๆ ปรับปริมาณเพิ่มขึ้นและสังเกตว่ามีอาการแพ้หรือไม่สำหรับเมนูอาหารเด็ก เช่น โจ๊กข้าวทำเอง

หลังเริ่มต้นด้วยข้าวผ่านไป 3-5 วันค่อยเริ่ม ให้ทานผักใบสีเขียวอ่อน  จากนั้นอีก 3-5 วัน จึงค่อยเริ่มให้ทาน ไก่ หมู ปลาน้ำจืด ทีละอย่าง

หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย เช่น ไข่ อาหารทะเลทุกชนิด ผักผลไม้ที่มีแคโรทีนสูง (มักเป็นผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง  เช่น มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง มะละกอ)  รวมทั้งผักสีเขียวแก่  เช่น บร็อคโคลี่ ผักโขม

ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีส่วนผสมของสีผสมอาหาร สารปรุงแต่งรส สารกันบูด ควรให้เมื่อกระเพาะอาหารของลูกเริ่มแข็งแรง และ ทำงานได้สมบูรณ์

ให้ลูกลองกินอาหารใหม่ๆ ทีละอย่างทุก 3-5 วัน วิธีการนี้จะช่วยให้คุณสามารถแยกแยะว่าอะไรเป็นต้นเหตุของอาการภูมิแพ้นะคะ

*ที่มา: รศ.พญ. จรุงจิตต์ งามไพบูลย์ . รวมความรู้เรื่องแพ้นมวัว

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x