นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

คลินิกนมแม่ รวมสารพัดปัญหาการให้นมแม่ เรามีคำตอบ

นมแม่ คือโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารก เปรียบเสมือนวัคซีนเข็มแรกของลูกในการสร้างภูมิต้านทานตั้งต้นที่สำคัญในชีวิตของลูกน้อย เพราะนมแม่มี พรีไบโอติก หรืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ ช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพหรือ โพรไบโอติก เติบโตในระบบทางเดินอาหารได้ดี เมื่อพรีไบโอติกทำงานร่วมกับโพรไบโอติก แบบ ซินไบโอติก จะทำให้จุลินทรีย์สุขภาพ เพิ่มมากขึ้น จึงช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อย แต่คุณแม่มือใหม่ที่ต้องการให้นมแม่กับลูกน้อยมักต้องเผชิญกับปัญหา มากมาย วันนี้เราจึงรวบรวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการให้นมแม่ และรายชื่อคลินิกที่ปรึกษานมแม่มาฝากค่ะ

คลินิกนมแม่ รวมสารพัดปัญหาการให้นมแม่ เรามีคำตอบ

หัวนมเจ็บ แตก หรือมีเลือดไหล

ตามปกติ หัวนมเจ็บ แตก หรือมีเลือดไหลเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธีหรือท่าทางไม่ถูกต้อง หรืออาจเป็นเพราะคุณใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกวิธี กุมารแพทย์สามารถช่วยแนะนำเทคนิคการให้ลูกกินนมแม่ให้คุณได้ทราบอย่างละเอียดมากขึ้น

ท่อน้ำนมตัน

ท่อน้ำนมตันมี 2 ชนิด: ชนิดแรก จะเป็นจุดขาวเล็กๆ ที่ปลายหัวนม ซึ่งตามปกติคุณจะสามารถใช้เล็บสะกิดออกเมื่อผิวบริเวณนั้นนุ่มขึ้นหลังจากให้นม  ชนิดที่สอง จะเป็นก้อนไตในเต้านมซึ่งผิวหนังบริเวณรอบๆ จะเกิดการอักเสบ โดยการอุดตันนี้เป็นสัญญาณเริ่มต้นของอาการเต้านมอักเสบ (mastitis)

ถ้าเต้านมอักเสบ คุณต้องปรึกษาพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเต้านมอักเสบรุนแรงขึ้น และในะหว่างนั้น คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

  • ให้ลูกกินนมบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้เพื่อระบายน้ำนมส่วนเกินออก
  • ต้องแน่ใจว่าลูกดูดนมถูกวิธี
  • ใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อระบายน้ำนมออกให้หมดหลังจากให้ลูกกินนมแล้ว และกินยาไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยให้อาการปวดลดน้อยลง การนวดเต้านมเบาๆ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆ ประคบจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นด้วยเช่นกัน

ฝ้าขาว

ฝ้าขาวเป็นการติดเชื้อราในทารกที่มักเกิดในบริเวณอวัยวะเพศและในปาก และสามารถแพร่ไปยังเต้านมของคุณด้วยขณะที่ลูกกินนม ถ้าลูกมีฝ้าขาว คุณจะสังเกตเห็นจุดขาวๆ ในปากและบนเต้านมของคุณ จุดเหล่านี้อาจแตกเป็นสะเก็ดและคัน รวมทั้งคุณอาจรู้สึกเจ็บที่เต้านม ถ้าคิดว่าคุณหรือลูกมีฝ้าขาว ควรไปพบแพทย์ทันที โดยแพทย์อาจให้ยาป้องกันเชื้อราชนิดครีมสำหรับลูกคุณ ทั้งคุณแม่และลูกต้องได้รับการรักษาในเวลาเดียวกันเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีก หลังจากนั้น คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมต่อได้ แม้ว่าจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย

นมคัด

หลังจากคลอดลูก 2-3 วัน เต้านมของคุณอาจเต็ม นุ่ม และแน่น โดยหัวนมจะราบลง เต้านมอาจขยายใหญ่ไปถึงรักแร้และคุณอาจมีไข้เล็กน้อย ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการ ‘หลั่ง' น้ำนม อาการนี้จะทำให้คุณรู้สึกเจ็บ แต่ไม่เป็นอันตรายและตามปกติจะหายไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เจ็บน้อยลง คุณควรบีบน้ำนมส่วนหนึ่งออกโดยใช้มือหรือเครื่องปั๊มก่อนที่จะให้ลูกกินนม และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบหรืออาบน้ำ เพื่อช่วยให้ความเจ็บปวดลดลงและผ่อนคลายขึ้นระหว่างการให้ลูกกินนม

น้ำนมไหลซึม

น้ำนมอาจไหลซึมถ้ามีปริมาณมากจนล้น หรือมีการกระตุ้น ‘กลไกการหลั่งน้ำนม ( Let down reflex)’ ตามปกติ เต้านมจะมีน้ำนมไหลออกมาก็ต่อเมื่อลูกดูดนม แต่บางครั้งเพียงแค่ได้ยินเสียงร้องไห้ของลูกก็ทำให้เต้านม ‘หลั่ง' น้ำนมออกมาแล้ว ยิ่งคุณแม่ให้ลูกกินนมบ่อยเท่าใด น้ำนมก็จะไหลซึมออกน้อยเท่านั้น คุณแม่ส่วนใหญ่จะใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ด้านในของเสื้อชั้นใน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมไหลซึมออกมา และคุณอาจพบว่าปัญหานี้แทบจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยหลังจากให้ลูกกินนมแม่ผ่านไปแล้ว 7-10 สัปดาห์

น้ำนมน้อยเกินไป

ยิ่งลูกกินนมแม่มากเท่าไหร่ ร่างกายคุณก็จะยิ่งสร้างน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นปริมาณน้ำนมที่น้อยเกินไปจึงเป็นสัญญาณระบุว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ร่างกายจึงผลิตน้ำนมน้อย ถ้าคุณกังวลว่าลูกอาจไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ลองปรึกษาสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์

น้ำนมมากเกินไป

การผลิตน้ำนมมากเกินไปเป็นเรื่องปกติในช่วง 2-3 วันแรก โดยในช่วงเริ่มต้น ร่างกายของคุณจะผลิตน้ำนมปริมาณมากเพื่อให้ลูกสามารถกินนมได้เยอะๆ และจะเริ่มคงที่เมื่อลูกดูดนมได้ดีขึ้น รวมถึงควบคุมปริมาณน้ำนมได้เองแล้ว แต่ถ้าลูกยังดูดนมไม่ถูกวิธี ร่างกายแม่ก็จะควบคุมน้ำนมไม่ได้ ทำให้ยังคงผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกต้องการกินบ่อยขึ้น นอกจากนี้ น้ำนมที่มากเกินไปยังเกิดจากกลไกการหลั่งน้ำนมที่ทำงานมากเกินไป หรือความไม่สมดุลระหว่างน้ำนมส่วนหน้ากับน้ำนมส่วนหลัง ถ้าร่างกายยังผลิตน้ำนมมากเกินไปหลังจากที่พฤติกรรมการกินของลูกคงที่แล้ว คุณสามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกกินภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม ระวังอย่าบีบน้ำนมเก็บไว้มากเกินไปหรือบีบระหว่างการให้นม เพราะจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้พอกับความต้องการที่มากขึ้น

นมไหลพุ่ง

คุณแม่บางคนอาจมีน้ำนมไหลพุ่งแรงซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของการผลิตน้ำนมมากเกินไปหรือเป็นการไหลพุ่งเองไม่เกี่ยวกับสาเหตุอื่น ซึ่งทำให้ลูกเบือนหน้าหนีและเป็นเหตุให้เด็กบางคนไม่ยอมกินนมแม่ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ การบีบน้ำนมส่วนเกินออกก่อนที่จะให้ลูกกินนมจะช่วยแก้ปัญหาได้ หรือคุณอาจลองให้ลูกดูด แล้วใช้ผ้าซับน้ำนมส่วนแรกที่ไหลพุ่ง เมื่อน้ำนมไหลช้าลงเล็กน้อยแล้วจึงให้ลูกดูดอีกครั้ง หรือเปลี่ยนท่าให้นมโดยคุณแม่นอนหงาย และจับตัวลูกคว่ำลงบนตัวคุณแม่ ให้ปากอยู่ที่หัวนม ลูกจะดูดนมได้ดีขึ้นค่ะ หรือในระหว่างที่ลูกดูดนมด้วยวิธีการปกตินั้น ให้เอามือกดลานนมไว้ เพื่อช่วยลดความแรงของน้ำนมค่ะ

 

ปัญหาเกี่ยวกับนิสัยการกินของลูก

ลูกไม่ยอมกินนมแม่

โดยทั่วไปวิธีการที่ทำให้คุณรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นคือลูกไม่ยอมกินนมแม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะลูกคันเหงือกเมื่อฟันเริ่มขึ้น หรือหายใจไม่สะดวกเนื่องจากเป็นหวัด ถ้าลูกไม่ยอมกินนมแม่ ลองให้นมตอนที่ลูกง่วงนอนมากๆ และพยายามอย่าให้มีเสียงรบกวนหรือสิ่งอื่นที่จะดึงดูดความสนใจของลูกได้ หรือคุณแม่อาจลองเปลี่ยนท่าให้นมลูก หรือแม้แต่ให้ลูกกินในขณะเคลื่อนที่ เพราะการโยกตัวจะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นได้ นอกจากนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งผิดปกติใดๆ เช่น การติดเชื้อในหูหรือฝ้าขาว

ลูกกินนมเพียงข้างเดียว

บางครั้งลูกจะชอบกินนมเพียงข้างเดียว ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับลูก แต่คุณอยากให้เต้านมทั้งสองข้างผลิตน้ำนมปริมาณเท่าๆ กัน ถ้าลูกเป็นคนช่างเลือก ลองให้ลูกกินนมข้างที่เขาไม่ชอบในท่าเดียวกับข้างที่ลูกยอมกิน ดังนั้น ถ้าคุณกำลังอุ้มลูกกินนมข้างซ้าย ให้เลื่อนตัวลูกมากิน นมข้างขวาแทนที่จะหมุนตัวลูกมาอีกด้าน และใช้หมอนรองใต้แขนคุณเพื่อไม่ให้รู้สึกปวดเมื่อย

ลูกกัดหัวนม

การกัดหัวนมเป็นเรื่องไม่สนุกเลยสำหรับคุณแม่ โดยเฉพาะช่วงที่ลูกเริ่มมีฟันขึ้น คุณแม่ควรหายางกัดให้ลูกสักอันเพื่อลดอาการคันเหงือก แต่ถ้าลูกยังกัดหัวนมอยู่ ให้จับหน้าลูกชิดเต้านม เพื่อให้หายใจไม่สะดวก แล้วลูกจะเปิดปากหายใจแทน ถ้าลูกกัดหัวนมเพราะคิดว่าการทำให้แม่ร้องเจ็บนั้นเป็นเรื่องสนุก คุณต้องสอนลูกอย่างหนักแน่นว่า ‘อย่ากัดนะ’ แล้ววางลูกลงสักครู่ ก็จะทำให้ลูกเรียนรู้ได้

ประเภทของนมเด็ก

 

ติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โทร. 0 2740 3333

หากคุณแม่ยังมีความกังวล หรือข้อสงสัย ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์ พร้อมให้คำปรึกษาและตอบคำถามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งครรภ์ โภชนาการของคุณแม่และลูกน้อย รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยหลังคลอด ด้วยทีมที่ประกอบไปด้วยพยาบาล โภชนากร และคุณแม่ เราจึงพร้อมเสมอที่จะพูดคุยและให้คำปรึกษา ทุกคำถาม มีคำตอบ

 

ลำดับชื่อคลีนิค
จังหวัดเบอร์โทรศัพท์
1คลินิกนมแม่ รพ.นพรัตนราชธานี 679 ถ.รามอินทรา คันนายาว
กรุงเทพฯ
02-5174270-9 ต่อ1486
2คลินิกนมแม่ รพ.รามาธิบดี (อาคารหลัก)
กรุงเทพฯ02-2012663
คลินิกนมแม่ ร.พ.รามาธิบดี (อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์)
กรุงเทพฯ02-2004490
3คลินิกนมแม่ รพ.บ้านโป่งราชบุรี032-222841-46 ต่อ 273
4คลินิกนมแม่ รพ.นครปฐมนครปฐ
034-254150-4 ต่อ 1018, 0816177382, 0806588853
5คลีนิกนมแม่ รพ. สิริกิติ์ อ. สัตหีบชลบุรี034-254150-4 ต่อ 1018, 0816177382, 0806588853
6คลินิกนมแม่ รพ.อินทร์บุรี อ. อินทร์บุรีสิงห์บุรี036-581993-7 กด 1 หรือต่อ 114
7คลินิกนมแม่ รพ.พระจอมเกล้า อ.เมืองเพชรบุรี032-709999 กด 8 หรือต่อ 1193, 1350
8คลินิกนมแม่ รพ.สมุทรสาคร อ.เมืองสมุทรสาคร034-427099-105 ต่อ 8403
9คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสตูลสตูล074-723500-4 ต่อ 1310, 0843979490
10คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่เชียงใหม่053-999200 ต่อ 2317
11คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ045-511940-8 ต่อ 2104, 0862254686
12คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 12ยะลา073-214200 ต่อ 139
13คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 7ขอนแก่น043-241446 ต่อ 5805
14คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลตรังตรัง075-201500 ต่อ 1308, 0887687090
15คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลระยองระยอง038-611104 ต่อ 3312
16คลินิกนม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานีอุบลราชธานี045-288586-8 ต่อ 315, 319
17คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรชัยนาท056-411055 ต่อ 4801
18คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์สุรินทร์044-511757 ต่อ 506
19คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลกำแพงเพชรกำแพงเพชร055-714339, 0816806942
20คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์นครสวรรค์056-257204 ต่อ 287, 0839550501
21คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลพะเยาพะเยา054-409300 ต่อ 1206
22คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลหนองบัวลำภูหนองบัวลำภู042-311999 ต่อ 6204, 0879472060
23คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมหาสารคามมหาสารคาม043-740993-9 ต่อ 144
24คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมานครราชสีมา044-305131 ต่อ 150
25คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์บุรีรัมย์044-615002 ต่อ 3551, 0814008059
26คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมุกดาหารมุกดาหาร042-614055
27คลินิกนมแม่ รพ.วชิระภูเก็ตภูเก็ต076-361234 ต่อ 1244, 0887650351
28คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่สงขลา074-273100 ต่อ 1347, 0891977911
29คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสมุทรปราการสมุทรปราการ02-1738361-5 ต่อ 3172, 0860359104, 0911199785
30คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีสุราษฎร์ธานี077-915600 ต่อ 4250, 4280, 0815375540
31คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ชุมพร077-503672 ต่อ 564
32คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นขอนแก่น043-241446 ต่อ 5805
33คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามันที่ 11นครศรีธรรมราช075-399460 ต่อ 109
34คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสระบุรีสระบุรี036-316555 ต่อ 1600
35คลินิกนมแม่ รพ.อ่างทองอ่างทอง0819946665
36คลินิกนมแม่ รพ.สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์056-219833
37คลินิกนมแม่ ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราชนครศรีธรรมราช075-340250 ต่อ 1024
38คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่9นครราชสีมา044-305131 ต่อ 150, 121
39คลินิกนมแม่ รพ.อุทัยธานีอุทัยธานี056-511081 ต่อ 231
40คลินิกนมแม่ รพ.ปัตตานีปัตตานี073-335134-8 ต่อ 3210, 0884887485
41คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีสระบุรี036-300830 ต่อ 159
42คลินิกนมแม่ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ประจวบคีรีขันธ์032-601060 ต่อ 3413, 3414, 0863002514
43คลินิกนมแม่ รพ.พระนารายณ์ มหาราชลพบุรี036-785444 ต่อ 4007, 4002, 0863771723
44คลินิกนมแม่. โรงพยาบาลน่านน่าน054- 719055
45คลินิกนมแม่ รพ.ลำพูนลำพูน053-569144
46คลินิกนมแม่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เชียงราย053-910600 ต่อ 2141, 0835658826
47คลินิกนมแม่ รพ.อุตรดิตถ์อุตรดิตถ์055-832601-2 ต่อ 7126-8
48คลินิคนมแม่รพ.พิจิตรพิจิตร056-611355 ต่อ 4833
49คลินิกนมแม่ รพ.สุโขทัยสุโขทัย055-611782 ต่อ 2600, 0864485577
50คลินิกนมแม่ รพ.ศรีสะเกษศรีสะเกษ045-611503 ต่อ 2702, 0831012349
51คลินิกนมแม่ รพ.แม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่3นครสวรรค์นครสวรรค์056-255451, 056-255234 ต่อ 240, 241
52คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์กรุงเทพฯ02-9884097-8 ต่อ 258, 0618253348
53คลินิกนมแม่ รพ.ราชวิถีกรุงเทพฯ02-3548108 ต่อ. 3617, 02-2062916
54คลินิกนมเเม่ รพ.ปทุมธานีปทุมธานี02-5988888 ต่อ 8322
55คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่เชียงใหม่053-276856 ต่อ 212
56คลีนิคนมแม่ รพ.กรุงเทพคริสเตียนกรุงเทพฯ02-2351000 ต่อ 31307
57คลีนิกนมแม่ รพ เซนต์หลุยส์กรุงเทพฯ02 -6755000 ต่อ 10241, 10242
58คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสิรินธรกรุงเทพฯ02-3286909-11 ต่อ 12102, 0816599305
59คลินิกนมแม่ รพ.เลิดสินกรุงเทพฯ02-3539856-7, 02-3539800 ต่อ 4102
60คลินิคนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 13 บางเขนกรุงเทพฯ02 5216550-2 ต่อ 206
61คลินิคนมแม่ รพ.มอ.สงขลา074-451230, 0922489143
62คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์กรุงเทพฯ02-2897134
63คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรพิษณุโลก055-965811
ลำดับชื่อคลีนิค
จังหวัดเบอร์โทรศัพท์
1คลินิกนมแม่ รพ.นพรัตนราชธานี 679 ถ.รามอินทรา คันนายาว
กรุงเทพฯ
02-5174270-9 ต่อ1486
2คลินิกนมแม่ รพ.รามาธิบดี (อาคารหลัก)
กรุงเทพฯ02-2012663
คลินิกนมแม่ ร.พ.รามาธิบดี (อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์)
กรุงเทพฯ02-2004490
3คลินิกนมแม่ รพ.บ้านโป่งราชบุรี032-222841-46 ต่อ 273
4คลินิกนมแม่ รพ.นครปฐมนครปฐ
034-254150-4 ต่อ 1018, 0816177382, 0806588853
5คลีนิกนมแม่ รพ. สิริกิติ์ อ. สัตหีบชลบุรี034-254150-4 ต่อ 1018, 0816177382, 0806588853
6คลินิกนมแม่ รพ.อินทร์บุรี อ. อินทร์บุรีสิงห์บุรี036-581993-7 กด 1 หรือต่อ 114
7คลินิกนมแม่ รพ.พระจอมเกล้า อ.เมืองเพชรบุรี032-709999 กด 8 หรือต่อ 1193, 1350
8คลินิกนมแม่ รพ.สมุทรสาคร อ.เมืองสมุทรสาคร034-427099-105 ต่อ 8403
9คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสตูลสตูล074-723500-4 ต่อ 1310, 0843979490
10คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่เชียงใหม่053-999200 ต่อ 2317
11คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ045-511940-8 ต่อ 2104, 0862254686
12คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 12ยะลา073-214200 ต่อ 139
13คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 7ขอนแก่น043-241446 ต่อ 5805
14คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลตรังตรัง075-201500 ต่อ 1308, 0887687090
15คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลระยองระยอง038-611104 ต่อ 3312
16คลินิกนม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานีอุบลราชธานี045-288586-8 ต่อ 315, 319
17คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรชัยนาท056-411055 ต่อ 4801
18คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์สุรินทร์044-511757 ต่อ 506
19คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลกำแพงเพชรกำแพงเพชร055-714339, 0816806942
20คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์นครสวรรค์056-257204 ต่อ 287, 0839550501
21คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลพะเยาพะเยา054-409300 ต่อ 1206
22คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลหนองบัวลำภูหนองบัวลำภู042-311999 ต่อ 6204, 0879472060
23คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมหาสารคามมหาสารคาม043-740993-9 ต่อ 144
24คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมานครราชสีมา044-305131 ต่อ 150
25คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์บุรีรัมย์044-615002 ต่อ 3551, 0814008059
26คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมุกดาหารมุกดาหาร042-614055
27คลินิกนมแม่ รพ.วชิระภูเก็ตภูเก็ต076-361234 ต่อ 1244, 0887650351
28คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่สงขลา074-273100 ต่อ 1347, 0891977911
29คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสมุทรปราการสมุทรปราการ02-1738361-5 ต่อ 3172, 0860359104, 0911199785
30คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีสุราษฎร์ธานี077-915600 ต่อ 4250, 4280, 0815375540
31คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ชุมพร077-503672 ต่อ 564
32คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นขอนแก่น043-241446 ต่อ 5805
33คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามันที่ 11นครศรีธรรมราช075-399460 ต่อ 109
34คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสระบุรีสระบุรี036-316555 ต่อ 1600
35คลินิกนมแม่ รพ.อ่างทองอ่างทอง0819946665
36คลินิกนมแม่ รพ.สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์056-219833
37คลินิกนมแม่ ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราชนครศรีธรรมราช075-340250 ต่อ 1024
38คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่9นครราชสีมา044-305131 ต่อ 150, 121
39คลินิกนมแม่ รพ.อุทัยธานีอุทัยธานี056-511081 ต่อ 231
40คลินิกนมแม่ รพ.ปัตตานีปัตตานี073-335134-8 ต่อ 3210, 0884887485
41คลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีสระบุรี036-300830 ต่อ 159
42คลินิกนมแม่ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ประจวบคีรีขันธ์032-601060 ต่อ 3413, 3414, 0863002514
43คลินิกนมแม่ รพ.พระนารายณ์ มหาราชลพบุรี036-785444 ต่อ 4007, 4002, 0863771723
44คลินิกนมแม่. โรงพยาบาลน่านน่าน054- 719055
45คลินิกนมแม่ รพ.ลำพูนลำพูน053-569144
46คลินิกนมแม่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เชียงราย053-910600 ต่อ 2141, 0835658826
47คลินิกนมแม่ รพ.อุตรดิตถ์อุตรดิตถ์055-832601-2 ต่อ 7126-8
48คลินิคนมแม่รพ.พิจิตรพิจิตร056-611355 ต่อ 4833
49คลินิกนมแม่ รพ.สุโขทัยสุโขทัย055-611782 ต่อ 2600, 0864485577
50คลินิกนมแม่ รพ.ศรีสะเกษศรีสะเกษ045-611503 ต่อ 2702, 0831012349
51คลินิกนมแม่ รพ.แม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่3นครสวรรค์นครสวรรค์056-255451, 056-255234 ต่อ 240, 241
52คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์กรุงเทพฯ02-9884097-8 ต่อ 258, 0618253348
53คลินิกนมแม่ รพ.ราชวิถีกรุงเทพฯ02-3548108 ต่อ. 3617, 02-2062916
54คลินิกนมเเม่ รพ.ปทุมธานีปทุมธานี02-5988888 ต่อ 8322
55คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่เชียงใหม่053-276856 ต่อ 212
56คลีนิคนมแม่ รพ.กรุงเทพคริสเตียนกรุงเทพฯ02-2351000 ต่อ 31307
57คลีนิกนมแม่ รพ เซนต์หลุยส์กรุงเทพฯ02 -6755000 ต่อ 10241, 10242
58คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสิรินธรกรุงเทพฯ02-3286909-11 ต่อ 12102, 0816599305
59คลินิกนมแม่ รพ.เลิดสินกรุงเทพฯ02-3539856-7, 02-3539800 ต่อ 4102
60คลินิคนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 13 บางเขนกรุงเทพฯ02 5216550-2 ต่อ 206
61คลินิคนมแม่ รพ.มอ.สงขลา074-451230, 0922489143
62คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์กรุงเทพฯ02-2897134
63คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรพิษณุโลก055-965811
carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x